ข่าวโลกสีเขียว

กรมอุทยานเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

นิ่มยังครองแชมป์ถูกล่าเป็นยาโป้ว อุทยานฯ ส่งเต่าดาวกิ้งก่าคะมีเลียนกลับถิ่นมาดากัสกา

9 เม.ย. 2552

วันที่ 7 เมษายน นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงข่าวว่า ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายนนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ เรื่องความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อลดอาชญากรรมสัตว์ป่า ที่โรงแรมมณเฑียร เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ทั้งนี้จากความร่วมมือของกรมอุทยานแห่งชาติฯร่วมกองบังคับการปราบการกระทำผิด
...

ปูปากกาทะเลชนิดใหม่ที่พัทยา

9 เม.ย. 2552

เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2552 ทีมงานวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการสำรวจทะเลพัทยาในเขตแนวปะการังเกาะล้าน เกาะครก และเกาะสาก โดยค้นพบปูปากกาทะเลที่อาจเป็นชนิดใหม่ของโลก ปูปากกาทะเล หรือชื่อสามัญคือ Porcellanid Crab มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudoporcellanella sp. เป็นปูขนาดเล็ก อาศัยอยู่ร่วมกับปากกา
...

9 เมษาปล่อยอีแร้งสีน้ำตาล 10 ตัวสู่ท้องฟ้า ตั้งร้านอาหาร เพิ่มประชากร

6 เม.ย. 2552

วันที่ 2 เมษายน นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงข่าวว่า ขณะนี้กรมอุทยานฯ ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยเหลือนกแร้งน้ำตาลหิมาลัยที่อดอาหาร บาดเจ็บ และบินมาตกในพื้นที่
...

ไฟป่าดอยเชียงดาวเหตุนักท่องเที่ยวดื้อด้าน เสนอกรมอุทยานฯลดเวลาเที่ยวชม

6 เม.ย. 2552

นายนิคม พุทธา เลขาธิการเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย กล่าวว่า ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ ปีนี้นับว่ารุนแรงมากกว่าทุกปี จึงอยากจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ค้นหากลยุทธิ์ใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา เช่น การกระจาย
...

กรมอุทยานฯเตรียมตั้งงบฯ ซื้อปืน เอชเค-ลูกซอง-เสื้อเกราะ

6 เม.ย. 2552

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ทำเรื่องขอคืนปืนให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าใช้ป้องกันตังเองขณะปฏิบัติหน้าที่และออกลาดตระเวณในป่าจำนวน 300 กระบอก เป็นปืน เอชเค 200 กระบอก ปืนลูกซอง 100 กระบอก และทำเรื่องถึง กรมสรรพวุธทหารบกขอยืมเสื้อเกราะกันกระสุนจำนวน 150 ชุด และกำลังตั้ง
...

ชาวบ้านชนะ 'ศึกมาบตาพุด' ต้องให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ

3 มี.ค. 2552

กรณีชาวบ้านมาบตาพุดจาก 11 ชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ได้มอบอำนาจให้โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฐานละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อควบคุม ลดและขจัดมลพิษ ซึ่งได้ยื่นต่อศาลปกครองระยอง ตั้งแต่เมื่อ
...

โลกร้อน จริงหรือมั่วนิ่ม

6 ก.พ. 2552

กรณีที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ใช่ปรากฏการณ์โลกร้อน รวมทั้งมีการนำข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
...

จับยกแก๊งค์ ล่าโลมาอิระวดีทำเนื้อแดดเดียวขายเขมร

3 ก.พ. 2552

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากมีข่าวสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย และถูกทำร้ายจากกลางทะเลจนซากลอยมาติดชายฝั่งค่อนข้างถี่ในรอบเดือนที่ผ่าน มานั้น ตนได้สั่งการเร่งด่วนให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนชายฝั่งเข้มงวดในเรื่องนี้มาก ขึ้น โดยให้เร่งประสานงานกับเครือข่ายชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ให้คอย
...

นักวิจัยสำรวจจตุจักรเช็ค "หม้ายน้ำตาล" ระบุรูปแผลเหวอะ เกิดจากสาเหตุอื่น สผ. นำถกวงเสวนา

21 ม.ค. 2552

นักวิจัยแมงมุงบุกสำรวจตลาดจตุจักร หา "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" ระบุหลายคนบอกว่าเคยเจอมาก่อน จับให้นกกิน ชี้แจงภาพแผลเหวอะตามหน้าหนังสือพิมพ์เกิดจากแมงมุมชนิดอื่น เล็งส่งซากให้มะกันช่วยดู ด้าน สผ.นำถกวงเสวนา ป้องกันสัตว์ต่างถิ่นรุกราน
...

แม่หม้ายน้ำตาลอาละวาด พิษร้ายแรงกว่างูเห่า 3 เท่า

19 ม.ค. 2552

นัก วิจัยเตือนภัย 'แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล' อาละวาดแถบชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง พิษร้ายแรงกว่างูเห่า 3 เท่า แนะวิธีสังเกตรูปร่างลักษณะ ชอบแฝงตัวในที่ต่ำ ให้ระวังลูกหลาน เผยยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ นาย ประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุม
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai