กรมอุทยานปล่อยพญาแร้งสู่ธรรมชาติ

กรมอุทยานปล่อยพญาแร้งสู่ธรรมชาติ

11 พ.ค. 2557

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

วันที่ 11 พฤษภาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.น.สพ. ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อและคณะเจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า ได้ปล่อยอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยคืนสู่ธรรมชาติ ที่บริเวณโป่งต้นผึ้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี  ตัว 
แร้งตัวหนึ่ง ชื่อ พิจิตร พบที่ จ.ภูเก็ต ถูกส่งมาที่หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเมื่อวันที่ เดือน มีนาคม 2556 จากอาการฝีที่นิ้วตีนและอ่อนแรง  อีกตัวชื่อ ไพศาลี  พบที่ จ.นครสวรรค์  สภาพแรกพบอ่อนแรงเพราะถูกยิงที่หน้าอก ถูกนำมาที่หน่วยฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 22  มกราคมที่ผ่านมา 


หลังจากปล่อยไป วัน เจ้าหน้าที่ไปไปสำรวจบริเวณรอบๆที่ปล่อย พบว่า นกทั้ง ตัว ยังบินวนเวียนอยู่ที่เดิม คาดว่าเป็นเพราะต้องการสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมนอกกรง และอีกไม่นานคงบินกลับไปยังถิ่นตามธรรมชาติ
นายธีรภัทร กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ทำโครงการฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติมาตั้งแต่ ปี 2551 โดยปล่อยอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยไปแล้ว   18 ตัว และจากการติดตามผลหลังจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้ว พบว่า ในปี 2552 มีรายงานการพบอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยที่ อ.หนงอัน ชานเมืองฉางชุน  มณฑลจินลิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน  หลังจากที่ประเทศไทยนำอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ  เดือน รวมระยะทางจากจุดที่ปล่อย  3,980 กิโลเมตร ขณะที่บางตัวบินผ่านประเทศพม่า มุ่งหน้าไปทางเทือกเขาหิมาลัย  

นายธีรภัทรกล่าวว่า ประเทศไทยในอดีตเคยมีนกอีแร้ง ชนิด เป็นนกอีแร้งประจำถิ่น ชนิด คือ พญาแร้ง อีแร้งเทาหลังขาว อีแร้งสีน้ำตาล พญาแร้ง และแร้งอพยพ ชนิด คือ อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย และ อีแร้งดำหิมาลัย ปัจจุบันไม่มีใครเคยเห็นแร้งประจำถิ่นซึ่งอยู่ในธรรมชาติอีกเลย อีแร้งฝูงสุดท้ายได้ตายยกฝูงจากป่าห้วยขาแข้งเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะมีพรานเข้าไปล่าเสือโดยการวางยาเบื่อ แต่กลับทำให้แร้งต้องตายยกฝูงเพราะมากินเหยื่อ นอกนั้นก็ตายเพราะถูกล่า บางส่วนตายเพราะกินสารเคมีในไร่นา 
แร้งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเทศบาลธรรมชาติ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย และเป็นตัวทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในป่า น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ปัจจุบันอีแร้งสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้กรมอุทยานฯ มีโครงการที่จะเพาะพันธุ์อีแร้งเพื่อคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เวลานี้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและที่สวนสัตว์ดุสิต มีพญาแร้งอยู่ที่ละ 1 ตัว เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบและหาวิธีการผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณและนำปล่อยสู่ป่าธรรมชาติต่อไป
Powered by Wimut Wasalai