เจอไข่จระเข้น้ำจืดใกล้สูญพันธุ์ที่แก่งกระจาน 27 ฟอง เจ้าหน้าที่เตรียมเก็บเข้าตู้ฟักเพื่อเพาะพันธุ์

เจอไข่จระเข้น้ำจืดใกล้สูญพันธุ์ที่แก่งกระจาน 27 ฟอง เจ้าหน้าที่เตรียมเก็บเข้าตู้ฟักเพื่อเพาะพันธุ์

1 ส.ค. 2559

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เจอไข่จระเข้น้ำจืดใกล้สูญพันธุ์ที่แก่งกระจาน 27 ฟอง เจ้าหน้าที่เตรียมเก็บเข้าตู้ฟักเพื่อเพาะพันธุ์

วันที่ 30 กรกฎาคม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายนริศ ภูมิภาคพันธ์ นายอุทิศ กุฏอินทร์ อาจารย์คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร.อ.นายแพทย์ปัญญา ยังประภากร ฟาร์มจระเข้ทองการเกษตร และผู้บริหารลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บริเวณหมู่บ้านวังข่า โป่งลึก จังหวัดเพชรบุรี เก็บไข่จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) จำนวน 27 ฟอง นำมาฟักในตู้ฟักห้องปฏิบัติการของฟาร์ม เตรียมการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยต่อไป




นายธัญญา กล่าวว่า ไข่จระเข้ทั้งหมดนี้ เจ้าหน้าที่พบบริเวณริมแม่น้ำเพชรบุรีเมื่อสัปดาห์ก่อน สาเหตุที่จะต้องนำไปฟักในห้องปฏิบัติการ เพราะบริเวณที่จระเข้มาวางไข่นั้นมีน้ำหลาก หากปล่อยเอาไว้ไข่อาจจะเน่าได้ อีกทั้งอาจจะถูก ตัวนาก ตัวเหี้ย หรือ กิ้งก่า และ นกบางชนิดเข้ามากินได้

"เมื่อ ปีก่อนเราก็เคยเก็บไข่จระเข้จากบริเวณเดียวกันนี้ได้ แล้วเอาไปฟักได้แล้วถึง ตัว อยู่ที่ประภากรฟาร์ม ทุกตัวอยู่ในสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ลำตัวยาวประมาณ 1.5 เมตร แล้ว พร้อมที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่แม่น้ำเพชรบุรีเร็วๆนี้ ถือเป็นความสำเร็จในการฟื้นฟูจระเข้สายพันธุ์ไทย ที่เกือบตะหายไปจากธรรมชาติ ให้กลับคืนมาอีกครั้ง" นายธัญญา กล่าว




อย่างไรก็ตาม จากกรณีดังกล่าว ทำให้นายสมัคร ดอนนาปี อดีตผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ ได้ออกมาโพสตั้งคำถามลงในเฟซบุ๊กว่า ไข่จระเข้เมื่อสามปีที่แล้ว รอดเจ็ดตัว เอาไปจากในเขตอุทยานฯ แก่งกระจานหรือเปล่า เอาไปได้อย่างไร เอาไปกี่ครั้ง ครั้งละกี่ฟอง เจ็ดตัวที่ว่า เอามาสวมแบบสวมตอไม้หรือเปล่า เท่าที่ผมทราบ เอาไปจากเขตอุทยานฯ โดยไม่ได้ขออนุญาต ตายเกือบหมด อยู่ดี ๆ รอดมาเจ็ดตัว ทำไมถึงเพิ่งมีข่าวนั้น

วันที่ สิงหาคม นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการส่วนต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ และอดีต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กล่าวว่า เมื่อปี 2556 ตนได้ทำหนังสือ ที่ ทส.0910.19/1625 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2556 เพื่อขออนุญาต นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานฯ ในขณะนั้น เพื่อเก็บและนำไข่ขระเข้มาฟักที่ห้องปฏิบัติการ และนายมโนพัศ ก็ได้อนุญาตพร้อมทั้งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแลการดำเนินการนำไข่จระเข้น้ำจืด ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานไปฟักในห้องปฏิบัติการ มีหลักฐานเอกสารชัดเจน 

"การดำเนินการเราก็ทำตามหลักวิชาการทุกอย่าง ถามว่าทำไมไม่ปล่อยให้มันอยู่ตามธรรมชาติ ก็เพราะที่ผ่านมา มันอยู่แบบนี้ ออกไข่บริเวณนี้ โอกาสที่จะฟักออกมาเป็นตัวและใช้ชีวิตตามธรรมชาติมีโอกาสน้อยมาก เพราะถูกสัตว์อื่นรบกวน จนจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างขณะนี้ ทั้งนี้การดำเนินการที่ทำกันนั้น ไม่ใช่ความคิดของกรมอุทยานฝ่ายเดียว แต่มีนักวิชาการ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตลอด" นายชัยวัฒน์กล่าว
Powered by Wimut Wasalai