ปฏิญญาหัวหิน ว่าด้วยการอนุรักษ์เสือ

ปฏิญญาหัวหิน ว่าด้วยการอนุรักษ์เสือ

31 ม.ค. 2553

การประชุมวันที่ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการประชุมว่าด้วยการอนุรักษ์เสือในภูมิภาคเอเชียครั้งที่ เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีเสือในป่า ครั้งนี้มีรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมจาก ประเทศ คือ  บังกลาเทศ ภูฏาน ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล และประเทศไทย ส่วนอีก  ประเทศ ส่งผู้แทนเข้าร่วม คือ กัมพูชา จีน อินเดีย รัสเซีย และเวียดนาม ผลสรุปที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ จะนำไปสู่การประชุมสุดยอดเสือโลกที่ประเทศรัสเซียช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวิดีโอลิงก์ต่อตัวแทนของประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นความหวังและความร่วมมือครั้งสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียที่จะอนุรักษ์เสือโคร่งให้อยู่ในโลกนี้อย่างยั่งยืน

“จากข้อมูลที่ผมได้รับ พบว่าเสือได้รับภัยคุกคามจากรอบๆ ตัว รวมไปถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ปริมาณลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ที่อยู่อาศัยของพวกมัน คือ ป่าขนาดใหญ่ และบรรดาเหยื่อของมันก็ลดลงด้วย การรักษาไว้ซึ่งปริมาณของเสือในป่า จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งที่เราทุกคนจะต้องร่วมมือกันดำเนินการให้สำเร็จให้ได้” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การประชุมที่ไทยเจ้าภาพในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่ปฏิญญาในเรื่องการอนุรักษ์เสือ โดยจะชี้ว่าต้องทำในด้านบ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การเมือง ตลอดจนแผนและนโยบายของแต่ละประเทศ ที่จะนำไปเสนอในที่ประชุมระดับผู้นำประเทศที่ประเทศรัสเซียในช่วงปลายปี 2553 นี้ ทั้งนี้ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ เราก็ขอมาตรการในการอนุรักษ์ คือ ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน มีการวิจัยและการลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่อนุรักษ์ ที่สำคัญคือการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านเสือระดับภูมิภาคขึ้นในผืนป่าตะวันตกของไทย ซึ่งคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหวังว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ประเทศไทยนำเสนอจะสามารถทำให้นานาชาติสามารถที่จะอนุรักษ์เสือไว้ได้ ทั้งนี้ประเทศไทยหวังว่าจะทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติให้ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์เสือต่อไป
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรี ทส. กล่าวว่า 100 ปีที่ผ่านมา ปริมาณเสือทั่วโลกลดลงจากแสนตัวเหลือเพียง 3,200-3,500 ตัว แม้หลายประเทศจะพยายามหาวิธีป้องกันการสูญเสียเสือโคร่งอย่างจริงจังนับจากปี 2513 เป็นต้นมา แต่ถึงเวลานี้ก็ยังมีความจำเป็นเรื่องการขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่ออนุรักษ์เสือให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั้ง 13 ประเทศ เห็นชอบร่วมกันในการปกป้องเสือ โดยจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่เรียกว่า ปฏิญญาหัวหินว่าด้วยแผนอนุรักษ์เสือโคร่ง ให้เสือโคร่งเพิ่มปริมาณขึ้นอีก เท่า นับจากวันนี้ไปถึงปี 2565 ดังนี้
1. จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการพัฒนา โดยพยายามให้เสือที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ไม่ให้ได้รับผลกระทบจาการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ทำให้เสือลดจำนวนลง แต่ต้องทำให้ปริมาณมากขึ้นให้ได้
2. เรื่องการค้า การบังคับใช้กฎหมาย จะต้องร่วมกันปกป้องเสือจากการค้าที่ผิดกฎหมาย และจะต้องให้กฎหมายจัดการกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจังทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
3. เรื่องการจัดการ จะต้องนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจัดการเรื่องการอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณของเสือในธรรมชาติอย่างเหมาะสม
4. ต้องรณรงค์ให้ชุมชน หรือประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยใกล้กับบริเวณที่เสืออาศัยอยู่ สนับสนุนการอนุรักษ์เสือ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสือ
5. สนับสนุนเงินทุนที่จะเอามาทำงานเรื่องการอนุรักษ์เสืออย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลอาจจะต้องติดต่อขอรับการสนับสนุนจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)
6. จะมีการติดตามผลการหารือร่วมกันในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค ก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดเสือโคร่งโลกที่ประเทศรัสเซีย รวมทั้งภายหลังการประชุมที่ประเทศรัสเซียเสร็จก็จะต้องติดตามผลการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าแผนการอนุรักษ์เสือโคร่งจะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai