จระเข้ไทยอดส่งออก แพ้โหวตไซเตส อยู่บัญชี 1 ต่อไป

จระเข้ไทยอดส่งออก แพ้โหวตไซเตส อยู่บัญชี 1 ต่อไป

11 มี.ค. 2556

จระเข้ไทยไปไม่ถึงฝั่งฝัน ยุโรป-อเมริกา ออกโรงค้านหัวชนฝา รองอธิบดีอุทยานฯระบุ เรื่องของผลประโยชน์ทางการค้าทุกประเทศต้องปกป้องตัวเอง ยันไทยดูแลจระเข้ในธรรมชาติดีที่สุดแล้ว
วันที่ มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและ พืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่16 (ไซเตส คอป 16)  มีการพิจารณาข้อเสนอของประเทศไทยเรื่องขอปรับย้ายจระเข้น้ำจืดและน้ำเค็ม จากบัญชี เป็นบัญชี เพื่อให้ค้าขายระหว่างประเทศได้  โดยนายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ในฐานะหัวหน้าคณะของประเทศไทยที่เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาได้ขอให้ที่ประชุมอภิปรายและพิจารณาเรื่องของจระเข้น้ำจืดก่อน ซึ่งภาคีสมาชิกมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวแทนจากประเทศกาตาร์ กล่าวว่า จากข้อมูลที่ผ่านมา เห็นว่ารัฐบาลไทยมีความสามารถในการผสมพันธุ์จระเข้มาก โดยตนกับภรรยาเคยไปเยี่ยมฟาร์มจระเข้ในประเทศแล้วหลายแห่ง พบว่าจระเข้ทุกแห่งมีความแข็งแรงและอุดมสมบูรณ์ดี จึงขอสนับสนุนประเทศไทยที่เสนอหัวข้อนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจาก สหภาพยุโรป ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านและบอกว่าประเทศไทยยังมีจระเข้น้ำจืดในธรรมชาติน้อยมาก ซึ่งไม่มีความชัดเจนว่าปริมาณดังกล่าวจะทำให้จระเข้น้ำจืดประเทศไทยมีคุณสมบัติที่จะออกมาจากบัญชีที่ หรือไม่



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการอภิปรายเสร็จ ประธานในที่ประชุมเปิดโอกาสให้สมาชิกโหวตว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ ปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วยแค่ 69 เสียง ไม่เห็นด้วย 49 เสียง และงดออกเสียง 11 เสียง เสียงที่เห็นด้วยไม่ถึง ใน ของสมาชิกในที่ประชุม ทำให้ข้อเสนอไม่ผ่านการพิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นเป็นการพิจารณาเรื่องจระเข้น้ำเค็ม ซึ่งก่อนอภิปรายตัวแทนจากสหรัฐอเมริกาได้แสดงความเห็นว่า ขอชมเชยประเทศไทยที่มีความพยายามในการผสมพันธุ์จระเข้จนได้ปริมาณมาก ซึ่งอะไรที่ดีอยู่แล้วก็ขอให้ทำต่อไป แต่สหรัฐอเมริกาจะไม่ยอมให้ข้อเสนอดังกล่าวของประเทศไทยผ่านอย่างเด็ดขาดเพราะข้อมูลเรื่องจระเข้ในธรรมชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะข้อมูลด้านชีววิทยาและปริมาณจระเข้ในธรรมชาติมีอยู่น้อยมาก ขณะที่ตัวแทนจากประเทศไอร์แลนด์กล่าวว่า ในนามของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป 28 ประเทศ ไม่สนับสนุนข้อเสนอของประเทศไทย เพราะว่าข้อมูลด้านชีววิทยาและการอนุรักษ์ของจระเข้น้ำเค็มในธรรมชาติมีน้อยมาก  จึงไม่สามารถให้การรับรองได้ว่าควรจะเปลี่ยนมาอยู่บัญชีที่ 2
ส่วนตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นพอใจและยินดีในความพยายามของประเทสไทยในเรื่องการปรับปรุงขยายพันธุ์จระเข้ จึงอยากสนับสนุนในความพยายามดังกล่าว แต่ก็มีความกังวลว่าจระเข้ในธรรมชาติยังมีอยู่น้อย จึงอยากให้ประเทศไทยมีความพยายามมากกว่านี้ ขณะที่ประเทศพม่า โคลอมเบีย จีน บราซิล กัมพูชาและอินเดีย อภิปรายสนับสนุนประเทศไทย
ทั้งนี้หลังการอภิปราย นายวิมลได้ขอให้ภาคีสมาชิก โหวตในทางลับ ซึ่งผลปรากฏว่า มีผู้สนับสนุน 61 เสียง ไม่เห็นด้วย 54 เสียง งดออกเสียง เสียง เสียงไม่ถึงสองในสามของที่ประชุม ข้อเสนอไม่ผ่านการพิจารณา ภายหลังการโหวต ตัวแทนจากสหรัฐอเมริกาได้กล่าวภายหลังการลงคะแนนเสียงว่า ถึงแม้จะเป็นการโหวตลับแต่สหรัฐอเมริกาประกาศในที่ประชุมว่า สหรัฐอเมริกาไม่สนับสนุนประเทศไทยสาเหตุที่ต้องประกาศเช่นนี้ให้ทุกคนรู้ เพราะต้องการยืนยันว่าตัวแทนของคนอเมริกาที่มาประชุมได้ทำตามความต้องการของคนอเมริกาทั้งประเทศแล้วว่าไม่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวเด็ดขาด
นายวิมล ให้สัมภาษณ์ภายหลังออกจากห้องประชุมว่า สาเหตุที่ต้องเรียกร้องให้ประธานโหวตในทางลับ เพราะยังมีความหวังว่าบางประเทศที่สนับสนุนประเทศไทยแต่ไม่อยากเปิดเผยเพราะเกรงใจประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปจะลงคะแนนให้แก่ประเทศไทย แต่ยอมรับว่าคาดการณ์ผิด เพราะคะแนนโหวตของจระเข้น้ำเค็มน้อยกว่าจระเข้น้ำจืดอีก  อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถือว่าเป็นการผิดหวังโดยสิ้นเชิง เพราะในวันที่ 14 มีนาคมยังมีการประชุมรวมทั้งภาคพืชและภาคสัตว์ ประเทศไทยจะเสนอให้มีการโหวตเรื่องนี้อีกรอบ
“ไม่ได้ผิดหวังมากนัก เพราะคะแนนที่ได้มาจากหลายประเทศ เราก็ไม่ได้เคยไปคุยกับเขา ส่วนที่คัดค้าน เราก็รู้อยู่แล้วว่ามีใครบ้าง ในเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ ซึ่งการเสนอขอปรับลดบัญชีเช่นนี้ อาจจะต้องทำกันในการประชุมมากว่าหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ยังไม่จบเพราะเรายังมีความหวังอยู่ว่า ในวันที่ 14 มีนาคม เราจะเสนอให้มีการพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง” นายวิมลกล่าว
ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ  รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ความจริงแล้วประเทศไทยโดยกรมอุทยานแห่งชาติ มีการดูแลจระเข้ในธรรมชาติ รวมทั้งสัตว์อื่น ๆ ค่อนข้างดี มีการทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมไซเตส ได้รับการยอมรับที่ดี รวมทั้งมีการทำงานในเชิงรุก การเดินลาดตระเวณแผนใหม่ ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาช่วย มีระบบการปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยที่ผ่านมาเคยมีหลายประเทศส่งเจ้าหน้าที่มาดูงานและฝึกอบรมในประเทศไทย
“แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ การประชุมไซเตสนั้น ผู้เข้าร่วมต้องปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองด้วย เหตุผลต่าง ๆ ที่เราพยายามจะอธิบายมันดีมากอยู่แล้ว แต่เมื่อใดที่ไปขัดผลประโยชน์และเขามีพวกมากกว่าเราก็ต้องยอมรับ อย่างเรื่องจระเข้ ถ้าอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปปล่อยให้เราเลื่อนบัญชีได้ เขาจะมีเราเป็นคู่แข่งสำคัญในการขายหนังจระเข้ ก็พยายามกีดกัน โดยเอาเหตุผลของจระเข้ในธรรมชาติบ้านเรายังมีอยู่น้อยเป็นข้ออ้าง” นายธีรภัทรกล่าว
อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การที่จระเข้น้ำจืดและจระเข้น้ำเค็มของไทยอยู่ในบัญชีที่ ไม่ใช่ว่าจะส่งไปขายต่างประเทศไม่ได้โดยสิ้นเชิง กรณีของประเทศไทยนั้นสามารถส่งไปขายต่างประเทศได้ แต่จะมีความยุ่งยากมาก คือ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานเลขาธิการไซเตสก่อน ซึ่งการตรวจสอบใช้เวลาพอสมควร นอกจากนี้เมื่อไซเตสอนุญาตแล้ว ต้องได้รับการยินยอมจากประเทศปลายทางที่จะส่งไปขายอีกด้วย แต่หากลงมาอยู่บัญชีที่ ทั้ง ขั้นตอนที่กล่าวมา ไม่ต้องทำเลย นั่นคือ จะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
“กว่าจะถึงวันที่ 14 มีนาคม เรายังพอมีเวลา ที่จะไปพูดคุยกับอีก 24 ประเทศที่ไม่ออกเสียง 11 ประเทศ ไม่ร่วมประชุม  ประเทศ และไม่ยอมแสดงอะไรเลยอีก ประเทศ เพื่อให้เห็นด้วยกับเรา แต่หากยังไม่ผ่านอีก อีก ปี ข้างหน้าเราก็ต้องทำข้อมูลใหม่ ที่อเมริกาและยุโรปอ้างว่า 200 ตัวสำหรับจระเข้ในธรรมชาติยังน้อย ผมก็อยากทราบเหมือนกันว่า ถ้าหากเราสามารถเพิ่มปริมาณจระเข้ในธรรมชาติจาก 200 ตัวเป็น 300-400 ตัว ยังจะมีใครอ้างว่าเราไม่พร้อมที่จะถอนออกจากบัญชี อีก ซึ่ง จำนวน 200 ตัว ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ เราก็ยืนยันว่าเป็น 200 ตัวที่เราดูแลอย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ดีว่าสามารถเพิ่มปริมาณได้ไม่ยาก ที่ผ่านมา ไม่เคยมีคดีล่าจระเข้ธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศไทยเลย” นายวิมลกล่าว

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai