ตะลึง! พบขยะเกลื่อนทะเลโลก มีมากกว่าปลาที่จับได้ 3 เท่า
ตะลึง! พบขยะเกลื่อนทะเลโลก มีมากกว่าปลาที่จับได้ 3 เท่า
26 พ.ค. 2552
วันที่ 25 พฤษภาคม นายสำราญ รักษ์ชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลปริมาณขยะในทะเลประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา ที่ ทช. ร่วมกับอาสาสมัครนักดำน้ำทั่วประเทศช่วยกันเก็บมีปริมาณถึง 22 ตัน หรือ ราว 22,000 กิโลกรัม ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวเป็นหลัก ที่น่าเป็นห่วงและเจอขยะมากที่สุดคือ บริเวณทะเลแสมสาร จ.ชลบุรี พบว่าขยะที่พบทั้งหมดนั้น 50% คือ ขวดและกระป๋องเบียร์ ส่วนที่บริเวณเกาะกระ จ.นครศรีธรรมราชนั้นพบว่า 80-90% เป็นเครื่องมือประมง เทียบกับสถานการณ์ขยะในทะเลในระดับสากล พบว่าแต่ละปีจะมีขยะถูกทิ้งลงทะเลมากถึง 6.4 ล้านตัน หรือประมาณ 1,800 ตันต่อวัน โดย 8 ล้านตัน ถูกทิ้งลงทะเลทุกวัน และในจำนวนนี้ 5 ล้านตันมาจากกิจกรรมในทะเล และพบว่า 89% ของขยะในทะเลทั้งหมดเป็นพลาสติก เฉลี่ยประมาณ 46,000 ชิ้น ต่อตารางกิโลเมตร คิดเป็นจำนวน 3 เท่า ของปลาที่จับได้จากทะเล และยังพบว่า ทุกๆ ตารางกิโลเมตรของทะเลมีขยะพลาสติกลอยอยู่มากกว่า 13,000 ชิ้น สำหรับในประเทศไทย
นายสำราญกล่าวว่าสำหรับข้อมูลเรื่องปริมาณขยะในทะเลตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยนั้น นับจากนี้ ทช. จะเริ่มสำรวจเก็บข้อมูลอย่างจริงจังทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน จะสรุปเป็นตัวเลขอีกครั้งได้ประมาณปี 2553 ซึ่งจากปัญหาเรื่องขยะในทะเลทั้งหมดนี้ ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและปะการังโดยตรง เช่น พบว่าสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ เช่น วาฬ โลมา หรือเต่าทะเล ที่เกยตื้นขึ้นมาตายมีปริมาณถุงพลาสติกในกระเพาะอาหารจำนวนมาก
“ในวันที่8 มิถุนายนนี้เป็นวันทะเลโลก ทช. จะร่วมกับสยามโอเชียนเวิร์ล และสมาคมกรีนฟินส์ จัดกิจกรรมอนุรักษ์ทะเลในส่วนกลาง มีกิจกรรมและงานเสวนาเรื่องวิกฤตขยะทะเลไทย โดยนักอนุรักษ์ และนักวิชาการมากมาย อยากเชิญชวนประชาชน และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย” นายสำราญกล่าว
เมื่อถามว่าขยะในทะเลประเทศไทยรวมไปถึงตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นประเด็นในขณะนี้ด้วยหรือไม่ และ ทช. จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ นายสำราญกล่าวว่า กรณีตู้คอนเทนเนอร์ที่แสมสารนั้น ความจริงแล้วเป็นได้ทั้งบ้านปลาและขยะในทะเล เพราะการจมอยู่ในทะเลไม่ต่ำกว่า 15 ปี ตามอายุของปะการังที่นำมาตรวจสอบนั้น เวลานี้ตู้ดังกล่าวกลายเป็นที่อยู่ของปลาและปะการังจำนวนมาก แต่ในเมื่อเป็นประเด็นอยู่ในสังคมว่าจะมีสิ่งไม่ชอบมาพากลภายในตู้หรือเปล่าก็ต้องพิสูจน์ ซึ่ง ทช. แม้จะดูแลเรื่องทะเล แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องทำงานเรื่องนี้ร่วมกันเท่านั้น การตัดสินใจดำเนินการเรื่องนี้ต้องทำร่วมกันหลายฝ่าย
นายสำราญกล่าวว่า
“ในวันที่
เมื่อถามว่า
ที่มา
- ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
