แม่หม้ายน้ำตาลอาละวาด พิษร้ายแรงกว่างูเห่า 3 เท่า

แม่หม้ายน้ำตาลอาละวาด พิษร้ายแรงกว่างูเห่า 3 เท่า

19 ม.ค. 2552

นัก วิจัยเตือนภัย 'แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล' อาละวาดแถบชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง พิษร้ายแรงกว่างูเห่า เท่า แนะวิธีสังเกตรูปร่างลักษณะ ชอบแฝงตัวในที่ต่ำ ให้ระวังลูกหลาน เผยยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

นาย ประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุมในประเทศไทย เปิดเผยวันที่ 18 มกราคม ว่า จากการศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องแมงมุมในประเทศไทย พบว่าขณะนี้มีแมงมุมพิษชนิดหนึ่ง ชื่อ 'แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล' ซึ่งเดิมพบแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา เท็กซัส และบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ปัจจุบันได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว เชื่อว่าขณะนี้แมงมุมดังกล่าวได้ขยายพันธุ์กระจายไปยังชุมชนต่างๆ รอบๆ ปากแม่น้ำเจ้า พระยา แม่น้ำแม่กลอง และอ่าวไทยตอนบนแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่าเจอแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลชุกชุมที่ อ.อัมพวา จ.สมุทร สงคราม และมีรายงานมีคนถูกกัดที่นั่น แต่ยังไม่ได้ลงไปตรวจสอบความชัดเจน
นาย ประสิทธิ์กล่าวว่า แมงมุมชนิดนี้มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน พิษร้ายแรงกว่าพิษของแมงมุมแม่หม้ายดำ เท่า และร้ายแรงกว่าพิษงูเห่า เท่าทีเดียว เพียงแต่เวลาแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลกัดจะปล่อยพิษออกมาไม่หมด ความร้ายแรงอาจจะไม่เท่าแม่หม้ายดำ เพราะแม่หม้ายดำ หรืองูเห่า กัดแล้วปล่อยพิษออกมาทั้งหมด เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ หากโดนงูเห่า หรือแม่หม้ายดำกัด จะปล่อยพิษออกมาในระดับมิลลิกรัม คือ ส่วนในพันส่วน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะปล่อยพิษออกมาในระดับ ppm คือ ส่วนในล้านส่วน อย่างไรก็ตาม หากถูกกัดหลายตัวพร้อมกันปริมาณพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
แมงมุมแม่หม้ายดำ

นาย ประสิทธิ์กล่าวต่อไปว่า สำหรับลักษณะทั่ว ไปของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลนั้น พบว่าขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ เซนติเมตร บริเวณท้องจะโต กว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้อง ข้างละ จุด รวมเป็น จุด วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง
สาเหตุ การแพร่ระบาดนั้น คาดว่าจะเข้ามากับเรือสินค้าเป็นหลัก และมีรายงานด้วยว่ามีพ่อค้าบางคนนำมาขายให้คนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก โดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรง ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่ามีผู้เสียชีวิตจากการถูกแม่หม้ายน้ำตาลกัด แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว คนที่ถูกกัดส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าแผลดังกล่าวเกิดจากอะไร ขณะนี้ยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น ยังโชคดีว่า แมงมุมชนิดนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ไม่โจมตีหรือบุกกัดใครอย่างไม่มีเหตุผล จะหลบมากกว่าสู้ และจะกัดเมื่อถูกรุกรานที่อยู่เท่านั้น
นักวิจัยแมงมุมให้ข้อ สังเกตความแตกต่างระหว่างแมงมุมทั่วไปกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลว่า นอกจากลักษณะลำตัวแล้ว ให้สังเกตลักษณะการทำรัง หรือการชักใย แมงมุมทั่วไปจะชักใยค่อนข้างสวยงามเป็นระเบียบ และชักใยอยู่ที่สูง เช่น ตามขื่อ ตามคาน หรือหลังคาบ้าน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กๆ ที่ชอบคลานเข้าไปอยู่ตามซอกมุมบ้าน หากไปเจอแมงมุมชนิดนี้อาจ จะถูกกัด และตกอยู่ในอันตรายได้ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลในเชิงลึก รวมทั้งเรื่องการกระจายพันธุ์ จึงขอความร่วมมือ สำหรับผู้พบเห็นแมงมุมที่มีลักษณะดังกล่าว ขอความกรุณาแจ้งมายังภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ด้วย
แผลที่ถูกกัด

นายประสิทธิ์ ได้กล่าวต่ออีกว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดการแพร่กระจายที่ชัดเจนว่าจะอยู่บริเวณไหนบ้าง แต่คาดการว่า จะอยู่ตามชุมชน โดยเฉพาะในซอกมุมที่ไม่มีใครรบกวน แต่บ้านไหนที่เก็บกวาด สะอาดเรียบร้อย ตามซอกตามมุมบ้านไม่มีสิ่งของเกะกะหรือทำให้แมงมุมมาสร้างใยทำรังได้ก็ไม่น่าห่วง ข่าวที่ออกไปนั้น ไม่มีเจตนาให้เกิดความแตกตื่นแต่อยากให้เกิดความระมัดระวังกันไว้ เพราะหลายพื้นที่ เจอกับสัตว์ชนิดนี้แล้วจริงๆ
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับวงชีวิตของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนนัก แต่คาดว่า ในพื้นที่และภูมิอากาศที่แตกต่างกัน วงชีวิตก็จะแตกต่างกันด้วย อย่างในประเทศไทยนั้น ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงมกราคม จะเป็นช่วงการวางไข่ และต้นฤดูฝนจะฟักออกมาเป็นตัว กระจายตามสายลมไปอยู่ยังที่ต่างๆ
ดร.ฉวีวรรณ หุตะเจริญ นักกีฏะวิทยา ในฐานะคณะทำงานชนิดพันธุ์ต่างถิ่น อนุกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่า เข้าใจว่า ทุกคนที่ทราบเรื่องนี้มีความกลัว และไม่มีใครอยากเจอกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล แต่โดยธรรมชาติแล้ว สัตว์ชนิดนี้ ไม่ได้จู่โจมหรือทำร้ายใครก่อน และแมงมุมก็ถือเป็นตัวเบียนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมความเป็นไปของสัตว์ในธรรมชาติ ไม่แนะนำว่าจะต้องมุ่งหน้าช่วยกันฆ่ากวาดล้างทำลายให้หมดไปจากประเทศ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาดูแลศึกษา เพื่อเฝ้าระวังที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างถูกวิธีจะเหมาะกว่า และในฐานะคณะทำงานชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจะนำเรื่องนี้รายงานในที่ประชุม และจะนำเสนอให้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างกว้างขวางต่อไป

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai