พบนกพงปากยาวครั้งที่สองของโลกในรอบ 139 ปี
พบนกพงปากยาวครั้งที่สองของโลกในรอบ 139 ปี
1 เม.ย. 2550
นกพงปากยาว (Large-billed Reed Warbler; Acrocephalus orinus ) ได้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียเมื่อ 139 ปีที่ผ่านมามีเพียงตัวอย่างเดียวที่ถูกเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งได้ถูกค้นพบอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 โดยใช้ตาข่ายดักจับบริเวณพื้นที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย การวิเคราะห์ทางรูปพรรณสัณฐานประกอบกับการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมยืนยันว่านกพงปากยาว (A. orinus ) ที่พบในประเทศไทยเป็นชนิดเดียวกับที่พบที่ประเทศอินเดีย แสดงให้เห็นถึงการยังคงอยู่ของนกชนิดนี้ แต่ประชากรในพื้นที่ทำรังวางไข่และพื้นที่พักพิงในฤดูหนาวยังคงเป็นปริศนาอยู่
ฟิลลิป ดี ราวด์ ร่วมกับกลุ่มวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช ที่แหลมผักเบี้ยเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2542 นกที่จับได้ทุกตัวได้มาจากการใช้ตาข่ายดักบริเวณแปลงทดลองบำบัดน้ำเสียของทางโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันที่27 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 10:00 น. ทีมศึกษาได้จับนกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายนกพงปากยาว (A. orinus ) จึงได้ทำการวัดขนาดและรูปร่างทางชีววิทยาและเก็บขนหางเพื่อใช้ตรวจสอบทางพันธุกรรม นกพงปากยาว (A. orinus ) ที่จับได้บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 ได้ถูกเปรียบเทียบกับตัวอย่างต้นแบบ โดยการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยา และทางพันธุกรรม วิธีการตรวจสอบทำโดยการสกัดดีเอ็นเอจากขนที่หางของนกตัวที่พบที่คิดว่าเป็น นกพงปากยาว (A. orinus ) เปรียบเทียบกับ นกพงปากยาว (A. orinus ) ที่พบที่ประเทศอินเดีย และ Acrocephalus ชนิดอื่นๆ เพื่อดูว่าตัวอย่างที่ได้ตรงกับชนิดใด
ผลการตรวจสอบพบว่านกตัวใหม่ที่จับได้นี้มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางพันธุกรรมตรงกับนกพงปากยาว (A. orinus ) ที่เป็นตัวอย่างเดิมในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานการพบ นกพงปากยาว (A. orinus ) เพียงครั้งเดียวเมื่อ 139 ปีที่ผ่านมาทางตะวันตกของประเทศอินเดีย การค้นพบครั้งใหม่ของ นกพงปากยาว (A. orinus ) นี้เป็นการค้นพบครั้งที่สองของโลกซึ่งได้รับการยืนยันโดยการตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมจากขนหางเปรียบเทียบกับตัวอย่างเดิมที่ประเทศอินเดีย

(A. orinus ) ทำให้นักอนุกรมวิธานสงสัยมาเป็นเวลามากกว่าศตวรรษถึงการคงอยู่หรือสูญพันธุ์ไปแล้วของชนิดพันธุ์นี้ จนกระทั่งการตรวจสอบดีเอ็นเอจากตัวอย่างที่จับได้บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 เปรียบเทียบกับตัวอย่างต้นแบบที่เก็บได้ที่ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียในปี 1867 ยืนยันได้ว่าเป็นชนิดเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า นกพงปากยาว (A. orinus ) ยังไม่สูญพันธุ์ ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรม นิเวศวิทยา ชีววิทยาการสืบพันธุ์ และขอบเขตการกระจายในช่วงฤดูหนาว จากหลักฐานที่พบนี้อาจแสดงว่า นกพงปากยาว (A. orinus ) มีการกระจายตัวของกลุ่มประชากรบริเวณทางใต้ของเอเชีย ซึ่งประกอบด้วยอินเดีย พม่า ตะวันตกของประเทศไทยและมีแหล่งทำรังวางไข่ทางตอนเหนือของเอเชียหรือที่เรียกว่า Palaearctic อย่างไรก็ตาม นกพงปากยาว (A. orinus ) อาจเพียงแค่พัดหลงเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากนกในกลุ่มเดียวกับ นกพงปากยาว (A. orinus ) ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นนกพงคิ้วดำ (A. bistrigiceps ) และนกพงใหญ่พันธุ์ญี่ปุ่น (A. orientalis )
การค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยในพื้นที่ที่มีข้อมูลน้อยของสิ่งมีชีวิตที่มีการคาดการว่าสูญพันธุ์ไปแล้วและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาไว้ของถิ่นอาศัยที่เหมาะสมเพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่อไป
การค้นพบครั้งที่สองของโลก
การศึกษาใส่ห่วงขานกอพยพและนกประจำถิ่นดำเนินงานโดยเมื่อวันที่


ผลการตรวจสอบพบว่านกตัวใหม่ที่จับได้นี้มีลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ความสำคัญของการค้นพบครั้งนี้
สถานภาพของนกพงปากยาวการค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยในพื้นที่ที่มีข้อมูลน้อยของสิ่งมีชีวิตที่มีการคาดการว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ที่มา
- สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
