สำรวจไหล่ทวีป หาเนินพุโคลน ในมหาสมุทรอินเดีย
สำรวจไหล่ทวีป หาเนินพุโคลน ในมหาสมุทรอินเดีย
1 เม.ย. 2550
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 สื่อมวลชนเกือบทุกสื่อ พากันเสนอข่าวเรื่องการค้นพบ เนินพุโคลน (mud volcano) ที่กลางทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ในโครงการศึกษาเสถียรภาพของชั้นตะกอนการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลบริเวณขอบไหล ทวีปในทะเลอันดามัน ของ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(START-สตาร์ท) ที่ดำเนินการร่วมกับประเทศเยอรมันต่างพากันตื่นเต้นตกใจ เพราะได้ยินคำว่า โวลเคโน (volcano) ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ภูเขาไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไปพบใต้ทะเล ที่ใกล้กับเกาะภูเก็ต จึงพากันสันนิษฐานไปต่างๆ นานา ว่าการค้นพบครั้งนี้ไปเกี่ยวข้องกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หรือไม่
แม้ดร.อานนท์จะพยายามอธิบายว่า เจ้า มัดโวลเคโน หรือเนินพุโคลน ที่ว่านี้ มันคือ ลักษณะทางธรณีวิทยา ทำนองเดียวกับบ่อน้ำร้อน หรือ พหุน้ำร้อน ที่มีน้ำซึมลงไปตาม รอยแยกของหิน หรือความความพรุนของตะกอนเมื่อกระทบกับความร้อนที่อยู่ในเปลือกโลก บางจุดก็จะเดือด และพุกลับขึ้นมาที่ผิวพื้น โดยจะชะเอาอนุภาคตะกอนปนขึ้นมาด้วยทำให้มวลสารนั้นมีลักษณะเป็นโคลนเหลวข้น เมื่อเวลาผ่านไป เนินโคลนนั้นก็จะใหญ่ขึ้น โดยมีโคลนชั้นใหม่ทับถมโคลนชั้นเก่าไปเรื่อยๆ ตราบใดที่แหล่งความร้อนข้างใต้ยังคงร้อนอยู่ แต่กระแสความเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ว่ามีภูเขาไฟใต้ทะเลอันดามัน ยังคาใจหลายๆคน
ว่ากันตามหลักวิชาการแล้วเนินพุโคลน กับภูเขาไฟใต้น้ำ ที่คิดกันว่า เชื่อมโยงกันจนทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามินั้น ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันน้อยมาก
ดร.อานนท์ยอมรับว่า การสำรวจครั้งที่ผ่านมา แล้วไปเจอเนินใต้น้ำ ที่สงสัยว่าจะเป็นเนินพุโคลนหรือไม่นั้น เป็นความบังเอิญ แม้จะค่อนข้างมั่นใจว่าใช่เนินพุโคลนแน่ แต่ยังเก็บรายละเอียดได้ไม่มากนัก เพื่อความมั่นใจ จึงได้ขอทุนวิจัยเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษในโครงการย่อย เพื่อสำรวจเนินเขาใต้น้ำบริเวณขอบไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ออกสำรวจเนินพุโคลน โดยเฉพาะ เป็นการสำรวจ ครั้งแรกในประเทศไทย โดยทำร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี(ทธ.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)
ออกเดินทางสำรวจตั้งแต่วันที่20 มีนาคม และคาดว่าจะกลับถึงฝั่งไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม โดยใช้เรือ จักรทอง ทองใหญ่ ซึ่งเป็นเรือสำรวจทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะของทช.
จักรทองทองใหญ่ เป็นเรือขนาด 464 ตันกรอส ยาว 40 เมตร มีห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว 12 ห้อง เป็นห้องเตียงนอน 2 ชั้น จุน้ำได้เต็มที่ 27 ตัน มีเครื่องปั่นไฟได้ 168 กิโลวัตต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก มีตามสมควร ขาดแต่คลื่นโทรศัพท์ แต่สามารถใช้บริการโทรศัพท์สัญญาณดาวเทียมบนเรือได้ คิดค่าบริการนาทีละ 12 บาท
ทีมงานที่ร่วมเดินทางสำรวจครั้งนี้ประกอบด้วย ดร.อานนท์ นักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกส์ เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ภูเก็ต 12 คน ไม่รวม นักข่าว ที่ติดตามเรื่องนี้อีก 2 คน และลูกเรือ อีก 14 คน รวมแล้ว 28 คน
วันที่20 มีนาคม
เรือออกจากท่าที่ท่าเทียบเรือแหลมพันวา เวลา 13.30 น.เสียเวลาไปครึ่งวัน จากเดิมที่กำหนดไว้ 9 โมงเช้า เพราะ อุปกรณ์บางอย่างเซ็ทไม่ลงตัว เครื่องปั่นไฟในเรือมีปัญหาเล็กน้อยอุปกรณ์ทางธรณีฟิสิกส์สำคัญที่ต้องนำมาท ำงานในครั้งนี้ประกอบด้วย
1.Side scan sonar - ไซด์สแกน โซนาร์ (เครื่องโซนาร์แบบกวาดด้านข้าง) สำหรับ หาวัตถุบนผิวดิน
2.Sub bottom sediment profiler-ซับ บอททอม โปรไฟเลอร์ (เครื่องจับลักษณะของชั้นตะกอนโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน) เพื่อดูลักษณะชั้นตะกอน ว่ามีการเรียงตัวอย่างไร
3. Shallow seismic boomer ไซส์มิคบูมเมอร์ (เครื่องส่งและรับคลื่นสั่นสะเทือน) เพื่อตรวจวัดการเรียงตัวของชั้นตะกอนที่ลึกกว่าแบบแรก
เรือมุ่งหน้าจากแหลมพันวาจ.ภูเก็ต ถึงจุดหมาย บริเวณขอบไหลทวีป กลางทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย บริเวณใกล้แนวเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย บริเวณที่พบกลุ่มเนินเขาใต้น้ำ เมื่อปลายปี ที่ผ่านมา ห่างจาก เกาะภูเก็ตประมาณ 200 กิโลเมตร เรือแล่นเต็มฝีจักร ประมาณ 9 น๊อต หรือ ราว 16 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 19 ชั่วโมง
ก่อนออกเดินทางกัปตันหรือผู้บังคับการเรือ เรือเอกชลวัชร์ สิงห์หนู เรียกประชุมทำความเข้าใจกับการปฏิบัติ และใช้ชีวิตอยู่บนเรืออย่างปลอดภัยตลอดเวลา 5 คืน กับอีก 6 วันผู้การขอความร่วมมือให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำประหยัดไฟ อาบได้ได้วันละ 1 ครั้งเท่านั้น เข้าทางใครหลายๆคน
เสร็จจากประชุมทุกคนแยกย้ายกันประจำตำแหน่งของตัวเอง กลุ่มนักธรณีวิทยา 8 คน ช่วยกันเซ็ทเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ต่างๆ ที่จะต้องหย่อนลงน้ำในวันรุ่งขึ้นเมื่อถึงจุดหมายแล้ว นักข่าวยังไม่มีอะไรทำก็เดินสำรวจ เข้าห้องโน้น ออกห้องนี้ หาความรู้ใส่ตัวไปเรื่อยๆ บนเรือมีห้องสมุด ห้องนั่งเล่นและห้องกินข้าวรวมกัน นอกฝั่งไม่มีคลื่นโทรทัศน์ แต่มีหนังจากแผ่นดีวีดี ให้ทัศนาได้ตลอดเวลา
มีโทรศัพท์จากห้องผู้การชั้นบนสุดของเรือแจ้งว่า มีโลมาฝูงใหญ่ กำลังว่ายน้ำประลองความเร็วกับเรือ ทุกคนเลยไปออกันนอกเรือ ส่งเสียงกิ๊ว ก๊าว

แม้
ว่ากันตามหลักวิชาการแล้ว
ดร.อานนท์
ออกเดินทางสำรวจตั้งแต่วันที่
จักรทอง
ทีมงานที่ร่วมเดินทางสำรวจครั้งนี้
วันที่
เรือออกจากท่าที่ท่าเทียบเรือแหลมพัน
เรือมุ่งหน้าจากแหลมพันวา
ก่อนออกเดินทางกัปตัน
เสร็จจากประชุม

มีโทรศัพท์จากห้องผู้การชั้นบนสุดของเรือ