กรมอุทยานปล่อยพญาแร้งสู่ธรรมชาติ
กรมอุทยานปล่อยพญาแร้งสู่ธรรมชาติ
11 พ.ค. 2557
วันที่ 11 พฤษภาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.น.สพ. ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อและคณะเจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า ได้ปล่อยอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยคืนสู่ธรรมชาติ ที่บริเวณโป่งต้นผึ้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี 2 ตัว
แร้งตัวหนึ่งชื่อ พิจิตร พบที่ จ.ภูเก็ต ถูกส่งมาที่หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเมื่อวันที่ 1 เดือน มีนาคม 2556 จากอาการฝีที่นิ้วตีนและอ่อนแรง อีกตัวชื่อ ไพศาลี พบที่ จ.นครสวรรค์ สภาพแรกพบอ่อนแรงเพราะถูกยิงที่หน้าอก ถูกนำมาที่หน่วยฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา
หลังจากปล่อยไป1 วัน เจ้าหน้าที่ไปไปสำรวจบริเวณรอบๆที่ปล่อย พบว่า นกทั้ง 2 ตัว ยังบินวนเวียนอยู่ที่เดิม คาดว่าเป็นเพราะต้องการสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมนอกกรง และอีกไม่นานคงบินกลับไปยังถิ่นตามธรรมชาติ
นายธีรภัทรกล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ทำโครงการฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติมาตั้งแต่ ปี 2551 โดยปล่อยอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยไปแล้ว 18 ตัว และจากการติดตามผลหลังจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้ว พบว่า ในปี 2552 มีรายงานการพบอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยที่ อ.หนงอัน ชานเมืองฉางชุน มณฑลจินลิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน หลังจากที่ประเทศไทยนำอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 3 เดือน รวมระยะทางจากจุดที่ปล่อย 3,980 กิโลเมตร ขณะที่บางตัวบินผ่านประเทศพม่า มุ่งหน้าไปทางเทือกเขาหิมาลัย
นายธีรภัทรกล่าวว่า ประเทศไทยในอดีตเคยมีนกอีแร้ง 5 ชนิด เป็นนกอีแร้งประจำถิ่น 3 ชนิด คือ พญาแร้ง อีแร้งเทาหลังขาว อีแร้งสีน้ำตาล พญาแร้ง และแร้งอพยพ 2 ชนิด คือ อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย และ อีแร้งดำหิมาลัย ปัจจุบันไม่มีใครเคยเห็นแร้งประจำถิ่นซึ่งอยู่ในธรรมชาติอีกเลย อีแร้งฝูงสุดท้ายได้ตายยกฝูงจากป่าห้วยขาแข้งเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะมีพรานเข้าไปล่าเสือโดยการวางยาเบื่อ แต่กลับทำให้แร้งต้องตายยกฝูงเพราะมากินเหยื่อ นอกนั้นก็ตายเพราะถูกล่า บางส่วนตายเพราะกินสารเคมีในไร่นา
แร้งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเทศบาลธรรมชาติ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย และเป็นตัวทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในป่า น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ปัจจุบันอีแร้งสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้กรมอุทยานฯ มีโครงการที่จะเพาะพันธุ์อีแร้งเพื่อคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เวลานี้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและที่สวนสัตว์ดุสิต มีพญาแร้งอยู่ที่ละ 1 ตัว เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบและหาวิธีการผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณและนำปล่อยสู่ป่าธรรมชาติต่อไป
แร้งตัวหนึ่ง

หลังจากปล่อยไป
นายธีรภัทร

แร้งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเทศบาลธรรมชาติ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย และเป็นตัวทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในป่า น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ปัจจุบันอีแร้งสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้กรมอุทยานฯ มีโครงการที่จะเพาะพันธุ์อีแร้งเพื่อคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เวลานี้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและที่สวนสัตว์ดุสิต มีพญาแร้งอยู่ที่ละ 1 ตัว เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบและหาวิธีการผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณและนำปล่อยสู่ป่าธรรมชาติต่อไป
