สยอง อนาคอนดาบุกไทย มีคนลักลอบนำเข้าแล้วกว่าร้อยตัว
สยอง อนาคอนดาบุกไทย มีคนลักลอบนำเข้าแล้วกว่าร้อยตัว
23 ส.ค. 2559
กรณี น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้ทำการช่วยรักษาอาการเนื้องอกในหัวใจของงูอนาคอนดา โดยใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า 6 ชั่วโมงเป็นผลสำเร็จนั้น น.สพ.ทวีศักดิ์ เปิดเผยเกี่ยวกับงูตัวดังกล่าวว่า มีนักเลี้ยงงูได้นำเข้ามาจากป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว มีขนาดลำตัวแค่ 1 ฟุตเท่านั้น แต่ขณะนี้ลำตัวใหญ่ถึง 10 นิ้ว ยาวกว่า 4 เมตร ทั้งนี้หากงูอนาคอนดาได้รับการพักฟื้นจนร่างกายแข็งแรงก็จะนำส่งเจ้าของงูเพื่อเลี้ยงดูต่อไป
เมื่อวันที่23 ส.ค. นายอดิศร นุชดำรงค์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เนื่องจากงูอนาคอนดาไม่ใช่สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย แต่จัดอยู่ในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส ซึ่งจัดเป็นสัตว์ป่าที่ยังไม่ถึงกับสูญพันธุ์ จึงอนุญาตให้ค้าในเชิงพาณิชย์หรือนำเข้าได้ แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นงูอนาคอนดาตัวดังกล่าวอาจนำเข้ามาอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ถูกต้องก็ได้ ซึ่งกรมอุทยานฯ จะเร่งตรวจสอบหาผู้ครอบครองงูตัวนี้ว่ามีการนำเข้าอย่างถูกต้องหรือไม่ หรือไปซื้อต่อมาจากใครหรือเปล่า หากได้มาอย่างไม่ถูกต้องจะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
ภาพจากเฟซบุ๊ก น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา
รองอธิบดีกรมอุทยานฯกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ได้มีการตรวจสอบจากรายงานการให้อนุญาตนำเข้างูอนาคอนดา พบว่า มีการอนุญาตเมื่อปี 2543 จำนวน 5 ตัว ในปี 2547 มีผู้ขออนุญาตเป็นขององค์การสวนสัตว์ นำเข้า 17 ตัว ซึ่งสามารถเลี้ยงดูได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี และในปี 2549 จำนวน 50 ตัว นำเข้าเพื่อการค้าโดยภาคเอกชน ซึ่งต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าเจ้าของงูอนาคอนดาตัวดังกล่าวอยู่ในรายชื่อหรือมีที่มาตามที่กรมอุทยานฯ ได้ให้อนุญาตไว้หรือไม่ แต่หลังจากปี 2549 ทางกรมอุทยานฯ ไม่เคยอนุญาตนำเข้างูอนาคอนดาอีกเลย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อันตราย หากมีการปล่อยสู่ธรรมชาติในบ้านเราจะเกิดอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตามเราได้ตรวจสอบจากสถิติของบัญชีไซเตส พบว่ามีการลักลอบนำเข้างูอนาคอนดามายังประเทศไทยอีกกว่า 100 ตัว โดยได้รับอนุญาตจากประเทศต้นทาง แต่ไม่มีการขออนุญาตจากประเทศปลายทาง คือ ประเทศไทย
เมื่อถามว่าที่มีการลักลอบนำงูอนาคอนดาเข้ามาด้านกรมศุลกากรหรือด่านต่างๆ สามารถตรวจสอบได้หรือไม่ นายอดิศร กล่าวว่า เราพบการลักลอบนำเข้าภายหลังปี 2549 เป็นต้นมา เนื่องจากกรมอุทยานฯ ไม่อนุญาตนำเข้าแล้ว แต่ยังมีความต้องการจึงมีการลักลอบนำเข้ามาเรื่อยๆ กว่า 100 ตัว ซึ่งกรมศุลกากรหรือด่านต่างๆ ก็มีเครื่องเอ็กซเรย์ที่ตรวจสอบได้เป็นวัตถุจำพวกระเบิด จึงไม่ครอบคลุมมาถึงสัตว์ คาดว่าผู้ที่ลักลอบเลือกเฉพาะลูกงูอนาคอนดา เพราะสามารถนำใส่กระเป๋าเดินทางได้โดยง่าย อีกทั้ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ยังมีช่องว่างที่ตรวจสอบที่มาที่ไปไม่ละเอียดมากนัก โดยหากเป็นสัตว์ป่าที่สามารถค้าได้ เราจะไม่ทราบว่าผู้ที่ขออนุญาตนำไปขายต่อใครบ้าง หรือเพาะพันธุ์เพิ่มเติมเป็นจำนวนอีกเท่าไร นี่คือช่องว่างทางกฎหมายที่ยังไม่รัดกุมรอบด้าน ซึ่งทางกรมอุทยานฯ ได้ร่างพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับใหม่ไว้แล้ว และได้ระบุสัตว์ป่าที่ค้าได้ โดยต้องแจ้งครอบครอง แจ้งการค้าขาย รวมถึงการเพาะพันธุ์ด้วย ทั้งนี้กำลังเร่งเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
เมื่อวันที่

รองอธิบดีกรมอุทยานฯ
เมื่อถามว่าที่มีการลักลอบนำงูอนาคอนดาเข้ามา
